ด้วยปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้กำหนดสถานภาพการพำนักใหม่ขึ้น
เพื่อเปิดรับบุคลากร ชาวต่างชาติที่มีทักษะและความชำนาญเฉพาะทาง
ให้สามารถ ใช้สถานภาพนี้ ยื่นขอวีซ่าเข้าไปเพื่อทำงานที่ญี่ปุ่น อย่างถูกกฎหมาย
และพร้อมปฏิบัติงาน ได้ในทันที ซึ่งเรียกว่า สถานภาพ แรงงานทักษะเฉพาะทาง
หรือ Specified Skilled Worker ( ภาษาญี่ปุ่น : 特定技能 )
โดยผู้ได้วีซ่านี้ จำเป็นต้องต่ออายุวีซ่า ทุกๆ 1 ปี, 6 เดือน หรือ 4 เดือน รวมสูงสุดไม่เกิน 5 ปี
และไม่สามารถ พาครอบครัวมาอยู่ด้วยได้ สถานภาพแรงงาน ด้านทักษะเฉพาะทาง
ยังแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ สถานภาพแรงงานทักษะเฉพาะทาง หมายเลข 1 และหมายเลข 2
ทั้งนี้สำหรับหมายเลข 2 นั้น จะเป็นสถานภาพ สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูง และเปิดรับเ
พียง 2 สาขาเท่านั้น ในที่นี้เราจึงจะขออธิบาย ในส่วนของ สถานภาพแรงงาน ทักษะเฉพาะทาง
หมายเลข 1 ที่เพียงสามารถสอบผ่าน การทดสอบมาตรฐานทักษะอาชีพ
บวกกับมีความรู้ ด้านภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน ก็สามารถทำข้อสอบ และ ยื่นเอกสาร
เพื่อสมัครหางานที่ญี่ปุ่นได้
ไปทำงานสาขาไหนได้บ้าง ?
สาขาอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ที่พระราชบัญญัติได้ระบุไว้ มีทั้งหมด 14 สาขา ได้แก่
-งานพยาบาล : งานช่วยเหลือคนพิการ
-การจัดการความสะอาดอาคาร : งานทำความสะอาดภายในอาคาร
-อุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องจักรและเครื่องมือ : งานผลิตชิ้นส่วน
-อุตสาหกรรมเครื่องจักรในโรงงาน : งานผลิตชิ้นส่วน
-อิเล็กทรอนิกส์และข้อมูล : งานผลิตชิ้นส่วน
-งานก่อสร้าง : งานสร้างบ้าน, อาคาร
-อุตสาหกรรมต่อเรือและเครื่องจักรเรือ : งานต่อเรือ
-การซ่อมและดูแลรักษารถยนต์ : งานตรวจเช็คสภาพและซ่อมรถยนตร์
-อุตสาหกรรมการบิน : งานขนสัมภาระขึ้นเครื่องบิน, ตรวจเช็คสภาพ และ ซ่อมเครื่องบิน
-การอำนวยความสะดวก : งานประชาสัมพันธ์ และ ต้อนรับแขกที่โรงแรม
-การเกษตร : งานปลูก เก็บเกี่ยวผัก งานเลี้ยงสัตว์
-การทำประมง : งานตกปลา และเลี้ยงปลา
-ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
-อุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร
สำหรับการทดสอบมาตรฐาน ทักษะอาชีพ เพื่อใช้ยื่นขอ สถานภาพแรงงานทักษะเฉพาะทาง
ได้มีการเปิดจัดสอบ ทั้งในญี่ปุ่น และ ในต่างประเทศ โดยขณะนี้หน่วยงานในประเทศไทย
เปิดจัดสอบแล้วรวมทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ งานพยาบาล งานการเกษตร และ อุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร
เงื่อนไขในการ ไปทำงานที่ญี่ปุ่น สถานภาพ “แรงงานทักษะเฉพาะทาง หมายเลข 1”
ผู้ยื่นขอสถานภาพจะต้องมีอายุ 18 ปี ขึ้นไป ผ่านการทดสอบ มาตรฐานทักษะอาชีพในแต่ละแขนง (14 ประเภท ข้างต้น)
ผ่านการทดสอบ ระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน
หรือการสอบ JFT-Basic (ผู้ที่มีผลสอบ JLPT ระดับ N4 แล้ว สามารถใช้แทนได้เช่นกัน)
สามารถละเว้นการสอบ ข้อ 2 และ 3 ได้หากเป็นผู้ที่เคยผ่าน การเข้าฝึกงานทางเทคนิคหมายเลข 2
ที่ญี่ปุ่นมาแล้ว แต่ถ้าต้องการทำงานในสาขาอื่น นอกเหนือจากที่เคยไปฝึกงานมา จำเป็นต้องสอบ
มาตรฐานทักษะอาชีพ ของสาขาที่ต้องการทำงานด้วย
ขั้นตอนการขอสถานภาพ “แรงงานทักษะเฉพาะทาง หมายเลข 1” เข้ารับการทดสอบมาตรฐาน
ทักษะอาชีพในแต่ละแขนง (14 ประเภท ข้างต้น)
-เข้ารับการทดสอบระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น
-ยื่นสมัครงานโดยตรง หรือผ่านหน่วยงานด้านการจัดหางาน ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงแรงงาน
หรือผ่านกรมจัดหางาน ตกลงด้านสัญญาจ้างกับองค์กรญี่ปุ่น ที่ตอบรับ พร้อมรับการตรวจร่างกาย
-ยื่นเอกสารขอสถานภาพการพำนัก* และรอผล
-นำผลสถานภาพการพำนักที่่ได้ยื่นขอวีซ่า
-เดินทางเข้าทำงานที่ญี่ปุ่น
* หากเป็นผู้ที่มีวีซ่าอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่นอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่ผ่านการเข้า การเข้าฝึกงานทางเทคนิคหมายเลข 2
หรือ ผู้ที่ถือวีซ่านักเรียน จะต้องทำการยื่นเอกสาร ขอเปลี่ยนสถานผู้อยู่อาศัย
รับการทดสอบ มาตรฐานทักษะอาชีพ และ ภาษาญี่ปุ่น ได้ที่ไหน
ขณะนี้ประเทศไทย มีการจัดสอบมาตรฐานทักษะอาชีพ เพื่อใช้ยื่นขอสถานภาพแรงงานทักษะเฉพาะทาง
รวมทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ งานพยาบาล งานการเกษตร และ อุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร
จึงสามารถสอบได้จากที่ไทย โดยใช้ข้อสอบภาษาไทย
ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แรงงานทักษะเฉพาะทาง ได้ ที่นี่
ข้อมูลอ้างอิงจาก :
- เว็บไซต์เพื่อสนับสนุนแรงงานทักษะเฉพาะทาง
- The Japan Foundation Test for Basic Japanese
- The Japan Foundation, Bangkok
- เว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
- Thailand Tokuteiginou Visa