ดราม่า! จนท.บุกจั.บชา.วบ้.าน.เผาถ่าน

จากกร๊ที่ทางเพจ ที่ทำการปกครองอำเภอเดชอุดม จ.อุบลราชธานี ได้มีการโพสต์ภาพ จนท.ตรวจสอบเตาเผาถ่าน พร้อมระบุว่า

ชาวบ้านร้องศูนย์ดำรงธรรมเดือดร้อนจากควันเผาถ่าน นายอำเภอเดชอุดม สั่งตรวจสอบทุบทันที

อำเภอเดชอุดมได้รับรองเรียนจากประชาชนผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเดชอุดม ได้รับความเดือดร้อนจากหมอกควันจากเตาเผาถ่านขนาดใหญ่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก เหตุเกิดในพื้นที่ บ้านโนนทรัพย์ หมู่ 25 ตำบลเมืองเดช

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568 นายสะอาด วงศ์รักษ์ นายอำเภอเดชอุดม สั่งการให้ นายราเยส ราย ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานความมั่นคงอำเภอเดชอุดม นายภรดา ศรีบุญเรือง ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอำเภอเดชอุดมที่ 5 ลงพื้นตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว

# ผลการปฏิบัติ

ในพื้นที่พบเต่าเผาถ่านขนาดใหญ่ 1 เตา และพบชาย 2 คน กำลังบรรจุถ่านใส่กระสอบ แต่ไม่พบการเผาถ่านแต่อย่างใด โดยเบื้องต้นทั้งสอง ให้การว่าเป็นผู้รับจ้างมาบรรจุถ่านเท่านั้น ส่วนเจ้าของเตาถ่านทราบว่า ชื่อเซียง ไม่ทราบนามสกุล

เบื้องต้นตรวจสอบแล้วเตาถ่านดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จึงสั่งการให้ยุติการเผาถ่าน และสั่งการให้ทุบทำลายเตาเผาถ่านดังกล่าวและ แจ้งผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่ให้ติดตามตัวนายเชียง มาดำเนินการตามกฎหมาย ต่อไป

ต่อมา ทางเพจ ที่นี่ อำเภอม่วงสามสิบ ได้มีการโพสต์ถงเรื่องราวดังกล่าว โดยระบุว่า

เข้าตรวจสอบ วัยรุ่นสร้างตัว เตาเผาถ่านไม่ได้รับอนุญาต

การส่งเสริมอาชีพควรเป็นการพัฒนา ไม่ใช่การทำลาย

มีเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ปกครองเข้าตรวจสอบการเผาถ่านของชาวบ้าน อ้างว่าไม่มีใบอนุญาตและสั่งให้ทำลายเตาเผา

แต่ในความเป็นจริง “อาชีพเผาถ่าน” คือหนึ่งในวิถีชีวิตและรายได้สำคัญของชุมชนมายาวนาน

สิ่งที่ควรทำไม่ใช่การทำลาย แต่ควรเป็นการพัฒนา

• ควรส่งเสริมให้ชาวบ้านพัฒนาการเผาถ่านให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การใช้เตาเผาถ่านแบบไร้ควัน

• สนับสนุนให้มี การอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มมูลค่าผลผลิต

• ออก ใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้อาชีพนี้อยู่ภายใต้กฎหมายและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

การรักษาอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือการสร้างความมั่นคงให้ชุมชน ไม่ใช่การทำลายด้วยการใช้กฎหมายเพียงด้านเดียว

ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนแนวทางการทำงาน

หันมาเลือก ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา แทนการกดทับและทำลายอนาคตของชาวบ้าน

“เราต้องการการพัฒนา ไม่ใช่การทำลาย”

ข้อกฎหมายชาวบ้านที่เสียหาย แจ้งความได้เลย

เตาเผาถ่าน คือทรัพย์สินชาวบ้าน

เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิ์ทำลายโดยพลการ!

ตามหลักกฎหมายไทย:

1. มาตรา 27 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

“บุคคลมีสิทธิในทรัพย์สิน และรัฐต้องเคารพสิทธินั้น”

2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

“ผู้ใดทำละเมิดต่อผู้อื่นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน”

3. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 (ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์)

“ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น ต้องรับโทษทางอาญา”

สรุป:

• เจ้าหน้าที่สามารถ ตรวจสอบ ได้ แต่

• ไม่มีสิทธิ์ทำลายเตาเผา หรือทรัพย์สิน ของชาวบ้าน หากยังไม่ได้รับคำสั่งศาล หรือคำตัดสินเด็ดขาดตามกฎหมาย

• หากมีการทำลายโดยพลการ ชาวบ้านมีสิทธิ์ ฟ้องเรียกค่าเสียหาย และดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *