อุทาหรณ์หนุ่มป่วยมะเร็ง เตือน 3 อาหารเหลือในตู้เย็น ไม่ใช่แค่ผัก-เนื้อสัตว์ อีกสิ่งก็อันตราย!

ชายวัย 38 ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร เตือนภัย! 3 อาหารในตู้เย็นที่อาจเป็น “ตัวการ” ก่อโรค

การเก็บอาหารไว้ในตู้เย็น อาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ดังเช่นกรณีของชายวัย 38 ปีในประเทศจีน ทำงานหนัก จนล้มป่วยไม่รู้ตัว และได้ออกมาเตือนภัย “มะเร็งกระเพาะอาหาร” ซึ่งตกเป็นเหยื่อทั้งที่ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มแอลกอฮอล์

ตามรายงานระบุว่า นายจางหวัง โปรแกรมเมอร์ชาวจีน วัย 38 ปี ทรุดล้มลงขณะทำงานและอาเจียนเป็นเลือด หลังจากโหมทำงานล่วงเวลาอย่างหนักตลอด 3 เดือน ต่อมาผลการส่องกล้องตรวจพบว่าเขาเป็น มะเร็งกระเพาะอาหารชนิดรุนแรง แพทย์ได้ตรวจสอบรูปถ่ายอาหารและตู้เย็นในโทรศัพท์ของเขา ก่อนจะกล่าวว่า “การเก็บอาหารในตู้เย็น ไม่ใช่การเก็บไว้ในตู้นิรภัย!”

โดยแพทย์ชี้ว่า อาหารบางอย่างที่เก็บไว้ในตู้เย็นนานๆ กลับกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นการเกิดมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร อาจกลายเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพของผู้รับประทาน โดยกล่าวเตือนถึงอาหาร 3 ประเภท ดังนี้

สลัดข้ามคืน – แหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย

ผักสลัดหรืออาหารที่มีความชื้นสูง เช่น เห็ดหูหนู หรือแตงกวาดอง หากเก็บไว้ในตู้เย็นนานเกิน 12 ชั่วโมง อาจเกิดการเพิ่มจำนวนของเชื้อ Listeria monocytogenes ได้ถึงหลายสิบเท่า เชื้อชนิดนี้สามารถเติบโตได้แม้ในอุณหภูมิต่ำอย่าง 4 องศาเซลเซียส และอาจก่อให้เกิดอาการตั้งแต่ท้องเสียเล็กน้อย ไปจนถึงเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ดังนั้น ควรปรุงและรับประทานอาหารประเภทนี้ให้หมดทันที หากเหลือควรทิ้ง ไม่ควรเก็บไว้

เนื้อที่ละลายน้ำแข็งหลายครั้ง – จุดเริ่มต้นของสารก่อมะเร็ง

การนำเนื้อสัตว์ออกจากช่องแช่แข็งแล้วแช่เย็นซ้ำหลายครั้ง ทำให้เกิดของเหลวจากการสลายของเซลล์ ซึ่งอาจปนเปื้อนเชื้อ Staphylococcus aureus และ Clostridium botulinum ที่สามารถสร้างสารพิษทนความร้อนได้ การบริโภคเนื้อแบบนี้เป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การอักเสบของกระเพาะอาหารเรื้อรัง และพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ ทางที่ดีควรแบ่งเนื้อสัตว์เป็นส่วนเล็กๆ ก่อนแช่แข็ง และละลายน้ำแข็งเฉพาะส่วนที่จะใช้เท่านั้น

ผลไม้ขึ้นรา – แหล่งสะสมสารพิษอะฟลาท็อกซิน

หลายคนมักคิดว่า แค่ตัดส่วนที่ขึ้นราออกก็พอกินได้ แต่จริงๆ แล้ว เส้นใยของเชื้อรามักแผ่กระจายไปทั่วผลไม้นั้นแล้ว ตัวอย่างเช่น แอปเปิ้ลที่ขึ้นรา สามารถผลิตสาร patulin ซึ่งอาจแพร่กระจายไปยังผลไม้อื่นๆ ในบริเวณเดียวกัน แม้จะนำไปต้มที่ 100 องศาเซลเซียส นาน 20 นาทีก็ไม่สามารถทำลายสารพิษได้หมด ดังนั้น หากพบว่าผลไม้มีราขึ้น ควรทิ้งทั้งหมดทันที ไม่ควรเสี่ยงตัดส่วนเสียทิ้งแล้วกินต่อ

ท้ายที่สุดแล้ว แม้ว่าการเก็บอาหารในตู้เย็นอาจช่วยชะลอการเน่าเสีย แต่ไม่ใช่การป้องกันเชื้อโรคหรือสารก่อมะเร็งอย่างแท้จริง จึงควรใส่ใจในการเลือกเก็บและบริโภคอาหารให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจมาเยือนอย่างคาดไม่ถึง ดังเช่นกรณีของชายชาวจีนข้างต้น

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *